วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

การแยกก๊าส

การแยกแก๊สธรรมชาติ
             แก๊สธรรมชาติและแก๊สธรรมชาติเหลว ประกอบด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดต่าง ๆ เช่น มีเทน (CH4) อีเทน (C2H6) โพรเพน (C3H8) บิวเทน (C4H10) เพนเทน (C5H12) กับสารที่ไม่ใช่ไฮโดรคาร์บอน ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ไอปรอท และไอน้ำดัง
ตาราง
                                        

                                                                                                

สารประกอบ
สูตรโมเลกุล
ร้อยละโดยปริมาตร
มีเทน
CH4
60 – 80
อีเทน
C2H6
4 – 10
โพรเพน
C3H8
3 – 5
บิวเทน
C4H10
1 – 3
เพนเทน
C5H12
1
คาร์บอนไดออกไซด์
CO2
15 – 25
ไนโตรเจน
N2
ไม่เกิน 3
อื่น ๆ (เฮกเซน ไอน้ำ ฮีเลียม ไฮโดรเจนซัลไฟด์ และปรอท
CO2
น้อยมาก


แก๊สธรรมชาติและแก๊สธรรมชาติเหลวที่ขุดเจาะขึ้นมาได้ ก่อนจะนำไปใช้ต้องผ่านกระบวนการแยกแก๊สก่อน เพื่อแยกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ปะปนกันอยู่ตามธรรมชาติออกเป็นแก๊สชนิดต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการดังนี้
1. หน่วยกำจัดสารปรอท เพื่อป้องกันการผุกร่อนของท่อจากการรวมตัวกับปรอท
2. หน่วยกำจัดแก๊ส H2S และ CO2 เนื่องจาก H2S มีพิษและกัดกร่อน ส่วน CO2 ทำให้เกิดการอุดตันของท่อ เพราะว่าที่ระบบแยกแก๊สมีอุณหภูมิต่ำมาก การกำจัด CO2 ทำโดยใช้สารละลายK2CO3ผสมตัวเร่งปฏิกิริยา CO2 ที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทำน้ำแข็งแห้ง น้ำยาดับเพลิง และฝนเทียม
3. หน่วยกำจัดความชื้น เนื่องจากความชื้นหรือไอน้ำจะกลายเป็นน้ำแข็งทำให้ท่ออุดตัน ทำโดยการกรองผ่านสารที่มีรูพรุนสูง และสามารถดูดซับน้ำออกจากแก๊สได้ เช่น ซิลิกาเจล
4. แก๊สธรรมชาติที่ผ่านขั้นตอนแยกสารประกอบที่ไม่ใช่สารประกอบไฮโดรคาร์บอนออกไปแล้ว จะถูกส่งไปลดอุณหภูมิและทำให้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว แก๊สจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวและส่งต่อไปยังหอกลั่นเพื่อแยกแก๊สมีเทนออกจากแก๊สธรรมชาติ ผ่านของเหลวที่เหลือซึ่งเป็นไฮโดรคาร์บอนผสมไปยังหอกลั่น เพื่อแยกแก๊สอีเทน แก๊สโพรเพน แก๊สปิโตรเลียมเหลว (C3+C4)  และแก๊สโซลีนธรรมชาติหรือแก๊สธรรมชาติหลว (liquefied natural gas)  (C 5 อะตอมขึ้นไป)


ท่อส่งแก๊ส
    เป็นท่อที่ทำด้วยเหล็กกล้า (steel) ขนาดและความหนาของท่อขึ้นอยู่กับแรงดันที่ใช้ในการส่งแก๊ส และสภาพพื้นที่ในการวางท่อบนพื้นที่ภูเขา/ไม่มีชุมชน  และในพื้นที่ชุมชน/พื้นที่ทำกิน ฝังท่อลึก 1–1.5 เมตร บริเวณพื้นที่ลอดใต้ถนนฝังท่อลึก 3 เมตร ท่อส่งแก๊สจะถูกเคลือบผิวภายนอกเพื่อป้องกันการผุกร่อน สำหรับท่อในทะเลต้องเคลือบ 2 ชั้น คือการเคลือบเพื่อป้องกันการผุกร่อน และการพอกด้วยคอนกรีตเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้ท่อจมลงยังพื้นท้องทะเล 
ซิลิกาเจล
        ซิลิกาเจล มีสูตรโมเลกุล mSiO2.n H2ไม่ละลายน้ำและตัวทำละลาย ไม่มีกลิ่น ไม่เกิดปฏิกิริยากับสารอื่น ผลิตได้หลายวิธีคือทำให้มีซิลิกาเจลหลายชนิดซึ่งมีขนาดของรูพรุนในโครงสร้างที่แตกต่างกัน เป็นสารที่ใช้ดูดความชื้นได้ดีมาก
แก๊สธรรมชาติและแก๊สปิโตรเลียมเหลว
        แก๊สธรรมชาติและแก๊สปิโตรเลียมเหลว (Liquefied petroleum gas : LPG) เป็นแก๊สที่ไม่มีกลิ่น จึงมีการเติมสารเมอร์แคปแทน (Mercaptan) ซึ่งมีกลิ่นเหม็นเพื่อช่วยเตือนให้ทราบเมื่อมีแก๊สรั่วเมอร์แคปแทน เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ –SH เกาะอยู่กับอะตอมคาร์บอน สารประกอบเมอร์แคปแทนที่เติมลงในแก๊สธรรมชาติอาจเป็นเมทิลเมอร์แคปแทน (CH3–SH) หรือเอทิลเมอร์แคปแทน(C2H5–SH)
      ประเทศไทยมีโรงแยกแก๊สธรรมชาติ ที่ตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง และที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช แก๊สที่แยกได้เป็นแก๊สหุงต้ม (โพรเพน + บิวเทน) ส่วนมีเทนจะส่งไปตามท่อไปยังโรงไฟฟ้า และโรงงานต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง และใช้ในการผลิตปุ๋ยเคมี ส่วนอีเทนและโพรเพนใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติกและเส้นใย 


การกลั่นน้ำมัน

การกลั่นน้ำมัน

     การกลั่นน้ำมัน น้ำมันดิบที่สูบได้จากหลุมต่าง ๆ ยังไม่สามารถนำไปกลั่นได้ทันที เนื่องจากมีน้ำปนอยู่ด้วย จึงต้องแยกน้ำออกจากน้ำมันดิบก่อน เมื่อแยกน้ำออกจนได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด จึงนำไปกลั่นต่อไป


     การกลั่น (Distillation) เป็นการแยกสารประกอบการออกจากกันโดยอาศัยจุดเดือดที่ต่างกันของแต่ละสารประกอบเป็นตัวแยกน้ำมันดิบออกเป็นส่วนต่างๆ
     วิธีการกลั่นน้ำมันมีหลายวิธี โรงกลั่นน้ำมันที่แหล่งน้ำมันฝางใช้วิธีการกลั่นน้ำมันแบบพื้นฐาน คือ การกลั่นลำดับส่วน (Fractional distillation) สามารถแยกน้ำมันดิบออกเป็นส่วนต่าง ๆ โดยอาศัยหลักการที่ส่วนประกอบต่างๆที่อยู่ในน้ำมันดิบมีค่าอุณหภูมิจุดเดือดแตกต่างกัน และมีจุดควบแน่นแตกต่างกันด้วย
     ขั้นตอนคือ น้ำมันดิบจากถังจะได้รับการสูบผ่านเข้าไปในเตาเผาที่มีอุณหภูมิสูงมากพอที่จะทำให้น้ำมันดิบแปรสภาพไปเป็นไอได้ไอน้ำมันดังกล่าวจะถูกส่งผ่านเข้าไปในหอกลั่นลำดับส่วนที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกมีความสูงประมาณ ๓๐ เมตรและมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒.๕ - ๘เมตรภายในหอกลั่นดังกล่าวแบ่งเป็นห้องต่างๆหลายห้องตามแนวดิ่งโดยมีแผ่นกั้นห้องที่มีลักษณะคล้ายถาดกลมแผ่นกั้นห้องทุกแผ่นจะมีการเจาะรูเอาไว้เพื่อให้ไอน้ำมันที่ร้อนสามารถผ่านทะลุขึ้นสู่ส่วนบนของหอกลั่นได้และมีท่อต่อเพื่อนำน้ำมันที่กลั่นตัวแล้วออกไปจากหอกลั่น
มื่อไอน้ำมันดิบที่ร้อนผ่านท่อเข้าไปสู่หอกลั่น ก็จะเคลื่อนตัวขึ้นไปถึงส่วนบนสุดของหอกลั่นขณะที่เคลื่อนตัวขึ้นไปนั้นไอน้ำมันจะเย็นตัวลงและส่วนประกอบในไอน้ำมันแต่ละชนิดควบแน่นไปเรื่อยๆกลั่นตัวเป็นของเหลวที่ระดับต่างๆในหอกลั่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของการควบแน่นที่แตกต่างกันออกไปน้ำมันส่วนที่เบากว่าเช่น น้ำมันเบนซินและพาราฟิน ซึ่งมีค่าอุณหภูมิของการควบแน่นต่ำจะกลั่นตัวเป็นของเหลวที่ห้องชั้นบนสุดของหอกลั่นและค้างตัวอยู่บนแผ่นกั้นห้องชั้นบนสุดน้ำมันส่วนกลางเช่น ดีเซลและน้ำมันเตาบางส่วนจะควบแน่นและกลั่นตัวที่ระดับต่างๆตอนกลางของหอกลั่นส่วนน้ำมันหนัก เช่น น้ำมันเตาและสารตกค้างพวกแอสฟัลต์จะกลั่นตัวที่ส่วนล่างสุดของหอกลั่นซึ่งมีอุณหภูมิสูงและจะถูก ระบายออกไปจากส่วนฐานของหอกลั่นข้อเสียของกระบวนการกลั่นลำดับส่วน คือจะได้น้ำมันเบาประเภทต่างๆ ในสัดส่วนที่น้อยมากทั้งที่น้ำมันเบาเหล่านี้ล้วนมีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง
น้ำมันจากแหล่งน้ำมันฝางมีคุณภาพไม่สูงพอจนกลั่นน้ำมันเบนซินได้ สามารถกลั่นได้เพียงน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตา โดยโรงกลั่นน้ำมันฝางมีประสิทธิภาพในการกลั่นได้ประมาณ 1000 บาร์เรนต่อวัน น้ำมันที่ผลิตได้จากโรงกลั่นน้ำมันจะต้องมีการควบคุมคุณภาพทั้งทางด้านกายภาพและทางเคมีให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ทั้งความหนืด จุดวาบไฟ สิ่งเจือปนต่าง ๆ เช่นปริมาณกำมะถันเป็นต้น

กระบวนการเกิดปิโตรเลี่ยม

กระบวนการเกิดและแหล่งที่พบปิโตรเลียม
          ปิโตรเลียม  คือ  สารผสมที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน  มีคุณสมบัติในการเผาไหม้แล้วให้พลังงานได้ดี  เกิดจากซากพืชและซากสัตว์ที่ตายทับถมและคลุกเคล้ารวมกับตะกอนของดินเหนียว  ดินทราย  และหินปูน  เป็นเวลาหลายล้านปี  เมื่อเวลาผ่านไปซากพืชซากสัตว์และตะกอนต่าง ๆ ที่ทับถมกันเหล่านี้  จะถูกชั้นดินและหินที่เกิดขึ้นใหม่ทับถมจนจมลงไปสู่ระดับที่ลึกมากยิ่งขึ้น  ซึ่งความกดดันสูงที่เกิดจากชั้นดินและหินที่ทับถมกันอยู่ด้านบน  และความร้อนสูงจากใต้พื้นผิวโลกนี้เองที่ทำให้ตะกอนและซากพืชซากสัตว์ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปเป็นปิโตรเลียม  ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท  ตามสถานะ  คือ  น้ำมันดิบ (Oil)  ซึ่งเป็นของเหลว  และแก๊สธรรมชาติ (Natural Gasses)  ซึ่งเป็นแก๊ส
          ปิโตรเลียมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์และดินตะกอนต่าง ๆ  แต่เราสามารถพบปิโตรเลียมได้เฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น  เนื่องจากการเกิดปิโตรเลียมจะต้องอาศัยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมในการเกิดปิโตรเลียมที่สำคัญของโลก  ได้แก่  บริเวณแถบตะวันออกกลางของทวีปเอเชีย  โดยประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่มีปิโตรเลียมอยู่ด้วยเช่นกัน  เช่น  แหล่งน้ำมันสิริกิติ์  จังหวัดกำแพงเพชร  แหล่งวิเชียรบุรี  จังหวัดเพชรบูรณ์  แห่งแก๊สธรรมชาติภูฮ่อม  จังหวัดอุดรธานี  และแหล่งแก๊สธรรมชาติบริเวณอ่าวไทย  เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม




ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
     ในที่นี้จะกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานเท่านั้น คือ แก๊ส L.P.G.หรือแก๊สหุงต้มน้ำมันเบนซินน้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา

9.1.แก๊ส L.P.G. หรือแก๊สหุงต้ม
 เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเดือดต่ำมาก มีสภาพเป็นแก๊สในอุณหภูมิห้องดังนั้น ในการเก็บรักษาต้องเพิ่มความดัน หรือลด
อุณหภูมิให้ก๊าซปิโตรเลียมเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลว เพื่อความสะดวกในการเก็บรักษา แก๊สนี้เป็นแก๊สผสมระหว่างก๊าซโพรเพน ซึ่งมีจำนวนคาร์บอน 3 อะตอม
กับก๊าซบิวเทน ซึ่งมีจำนวนคาร์บอน 4 อะตอม เมื่อเวลาลุกไหม้จะให้ความร้อนสูง และมีเปลวที่สะอาด ปกติไม่มีสีไม่มีกลิ่น แต่เพื่อให้เป็นที่สังเกตง่ายเมื่อรั่ว
ผู้ผลิตจึงใส่กลิ่นเข้าไป ประโยชน์ ใช้เป็นแก๊สหุงต้ม เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์รวมทั้งเตาเผา เตาอบต่าง ๆ
9.2.น้ำมันเบนซิน (gasoline)
 เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์มาก โดยใช้จุดระเบิดที่หัวเทียน น้ำมันเบนซินประกอบด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
ชนิดหนึ่งมีจำนวน 8 อะตอมใน 1 โมเลกุล เรียกว่า ไอโซออกเทน น้ำมันเบนซินที่มีไอโซออกเทนบริสุทธิ์จะมีสมบัติในการทำงานกับเครื่องยนต์ดีมาก
เราเรียกว่ามีออกเทนนัมเบอร์เป็น 100 จะทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบ เบนซินชนิดนี้จะมีราคาแพง หากน้ำมันเบนซินที่มีไฮโดรคาร์บอนน้อยกว่า 8 อะตอมใน
1 โมเลกุล มีค่าออกเทนนัมเบอร์ต่ำ จะทำให้มีราคาถูก เพราะการเผาไหม้เชื้อเพลิงไม่ดี จึงมีการเติมสารบางชนิดลงไปในเบนซินคุณภาพต่ำเพื่อให้มีคุณภาพดี
ใกล้เคียงกับเบนซินที่มีออกเทนนัมเบอร์สูง สารที่นิยมเติมกันมากคือ เตตระเอธิลเลต ซึ่งประกอบด้วยตะกั่วจะมีผลต่อมลภาวะอากาศ หากใช้สารเมทิลเทอร์-
เธียรีมิวทิลอีเธน หรือเอ็มทีบีอีเติมแทน จะไม่ทำให้เกิดมลภาวะ และจะทำให้เบนซินมีคุณภาพดีขึ้นเช่นกัน
9.3.น้ำมันก๊าด (kerosene)
 เป็นผลิตภัณฑ์หลักของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในระยะแรก ๆ เดิมน้ำมันก๊าดใช้จุดตะเกียงเท่านั้น แต่ปัจจุบัน น้ำมันก๊าดใช้
ประโยชน์อย่างอื่นได้หลายประการ เช่น ใช้เป็นส่วนผสมสำหรับยาฆ่าแมลง สีทา น้ำมันขัดเงา และเป็นส่วนผสมของน้ำยาทำความสะอาดในด้านการเกษตร
ให้กำลังรถแทรกเตอร์ และใช้เป็นเชื้อเพลิงเผาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา
9.4.น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล (Diesel) 
ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีมูลฐานการทำงานแตกต่างจากเครื่องยนต์เบนซิน เพราะต้องการความร้อนที่เกิดจากการอัดอากาศ
อย่างสูงในลูกสูบ เชื้อเพลิงดีเซลใช้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รถบรรทุก รถโดยสาร รถแทรกเตอร์ หัวจักรรถไฟ และเรือประมง
9.5.น้ำมันเตา (fuel oils)
 เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาหม้อน้ำและเตาเผา หรือเตาหลอมในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ เครื่องยนต์เรือ
เดินสมุทร น้ำมันเตามี 3 ชนิด คือ


1. น้ำมันเตาอย่างเบามีความหนืดต่ำใช้กับหม้อน้ำขนาดเล็ก
2. น้ำมันเตาอย่างกลางมีความหนืดปานกลางใช้กับหม้อน้ำขนาดกลาง
3. น้ำมันเตาอย่างหนักมีความหนืดสูงใช้กับเตาเผาในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์






การสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน

การสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน (Seismic Exploration)

      การสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน เป็นการสำรวจเพื่อตรวจสอบลักษณะและโครงสร้างทางธรณีวิทยาใต้ผิวดิน โดยการทำให้เกิดสัญญาณคลื่น แล้ววัดระยะเวลาที่คลื่นเดินทางจากจุดกำเนิด ถึงตัวรับคลื่น (Geophone หรือ Hydrophone) ความเร็วคลื่น จะแปรผันตรงกับความหนาแน่นของชั้นหิน และชนิดของหินนั้น ชั้นหินที่มีความหนาแน่นต่ำ มีความพรุน และมีของเหลวแทรกอยู่ คลื่นเสียงจะเดินทางผ่านได้ช้ากว่า ( ใช้เวลามากกว่า) การเดินทางในชั้นหินที่มีเนื้อแน่นนอกจากนี้รอยเลื่อน และการโค้งงอของชั้นหิน ทำให้เกิดการหักเหของคลื่น แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างธรณีวิทยาของชั้นหินอีกด้วย

การสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน เป็นวิธีที่ใช้ในการสำรวจหาปิโตรเลียม มีความถูกต้องสูง ให้รายละเอียดของลักษณะทางธรณีวิทยาได้ดี สำรวจได้ลึกจากผิวดินหลายกิโลเมตร และเสียค่าใช้จ่ายสูง

แหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทย


แหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทย 
6.1 แหล่งปิโตรเลียมบนบก 

6.1.1 แหล่งปิโตรเลียมบนบกอยู่ในบริเวณภาคเหนือและภาคกลาง

 ประกอบด้วย 1.แหล่งฝาง บริเวณอําเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ํามันดิบ ประมาณ 1,000 บาร์เรลต่อวัน 2.แหล่งสิริกิติ์ทับแรต หนองมะขาม หนองตูม วัดแตน เสาเถียร ประดู่เฒ่า ปรือ กระเทียม หนองแสง ทุ่งยางเมือง บึงหญ้า บึงม่วง บึงหญ้าตะวันตก บึงม่วงใต้หนองสระ อรุโณทัย และ บูรพา อยู่ในพื้นที่อําเภอลานกระบือ จังหวัดกําแพงเพชร อําเภอคีรีมาศ อําเภอกง ไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย และอําเภอบางระกํา จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ํามันดิบ ประมาณ 30,000 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติที่ผลิตขึ้นมากับน้ํามันดิบ ประมาณ 25 ล้าน ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน 3.แหล่งวิเชียรบุรีศรีเทพ นาสนุ่น นาสนุ่นตะวันออก บ่อรังเหนือ วิเชียรบุรีส่วนขยาย และ L33 อยู่ในพื้นที่อําเภอวีเชียรบุรีและ อําเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ปัจจุบันมีอัตราการ ผลิตน้ํามันดิบประมาณ 2,200 บาร์เรลต่อวัน 4.แหล่งอู่ทอง สังฆจาย บึงกระเทียม และ หนองผักชีอยู่ในพื้นที่อําเภอเมือง และ อําเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ํามันดิบประมาณ 350 บาร์เรลต่อวัน 5.แอ่งกําแพงแสน อยู่ในพื้นที่อําเภอกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม ปัจจุบันมีอัตราการ ผลิตน้ํามันดิบประมาณ 500 บาร์เรลต่อวัน

6.1.2. แหล่งปิโตรเลียมบนบกอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

ปัจจุบัน มีแหล่งก๊าซธรรมชาติ 2 แหล่ง คือ 6.แหล่งก๊าซน้ําพอง บริเวณอําเภอน้ําพอง จังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันมีอัตราการผลิต ก๊าซธรรมชาติประมาณ 15 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน 7.แหล่งก๊าซสินภูฮ่อม บริเวณอําเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานีปัจจุบันมีอัตราการ ผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเหลวประมาณ 450 บาร์เรลต่อวัน

6.2. แหล่งปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย
แหล่งจัสมินและบานเย็น ผลิตน้ํามันดิบประมาณ 12,000 บาร์เรลต่อวัน แหล่งบัวหลวง ผลิตน้ํามันดิบประมาณ 7,400 บาร์เรลต่อวัน แหล่งนางนวล (หยุดผลิตชั่วคราว) แหล่งสงขลา ผลิตน้ํามันดิบประมาณ 17,500 บาร์เรลต่อวัน แหล่งเอราวัณ บรรพต สตูล ปลาทอง และแหล่งไพลิน ผลิตก๊าซรวมกันประมาณ 1,640 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ก๊าซธรรมชาติเหลวประมาณ 53,800 บาร์เรลต่อวัน และน้ํามันดิบประมาณ 30,000 บาร์เรลต่อวัน แหล่งทานตะวัน เบญจมาศ ผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 130 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และน้ํามันดิบ ประมาณ 25,000 บาร์เรลต่อวัน แหล่งบงกช ผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 650 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเหลว ประมาณ 21,000 บาร์เรลต่อวัน แหล่งอาทิตย์ ผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเหลว ประมาณ 11,500 บาร์เรลต่อวัน ในเขตพื้นที่ทับซ้อนกับประเทศมาเลเซีย ได้จัดตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (Malaysia – Thailand Joint Authority : MTJA) เพื่อแสวงประโยชน์ในแหล่งปิโตรเลียมร่วมกัน และเริ่มผลิต ปิโตรเลียมตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 ส่งก๊าซธรรมชาติและก๊าซ ธรรมชาติเหลวเข้าประเทศไทยวันละประมาณ 760 ล้านลูกบาศก์ฟุต 

.การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม

การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม

การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม ทำได้หลายวิธี ดังนี้

1. ทางธรณีวิทยา 
 จากแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ ภายถ่ายดาวเทียม รายงานทางธรณีวิทยา

2. ทางธรณีฟิสิกส์

การหาความเข้มของสนามแม่เหล็ก แรงโน้มถ่วงของโลก การเคลื่อนไหวสั่นสะเทือนของโลก 
และ การเจาะสำรวจ

ระบบปิโตรเลียม

ระบบปิโตรเลียม
ระบบปิโตรเลียมที่สมบูรณ์จะต้องมี 3 องค์ประกอบ และ 5 ขบวนการที่ครบถ้วน
  • องค์ประกอบ 3 ประการ
  • 5 กระบวนการในการเปิดปิโตรเลียม