วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม




ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
     ในที่นี้จะกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานเท่านั้น คือ แก๊ส L.P.G.หรือแก๊สหุงต้มน้ำมันเบนซินน้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา

9.1.แก๊ส L.P.G. หรือแก๊สหุงต้ม
 เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเดือดต่ำมาก มีสภาพเป็นแก๊สในอุณหภูมิห้องดังนั้น ในการเก็บรักษาต้องเพิ่มความดัน หรือลด
อุณหภูมิให้ก๊าซปิโตรเลียมเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลว เพื่อความสะดวกในการเก็บรักษา แก๊สนี้เป็นแก๊สผสมระหว่างก๊าซโพรเพน ซึ่งมีจำนวนคาร์บอน 3 อะตอม
กับก๊าซบิวเทน ซึ่งมีจำนวนคาร์บอน 4 อะตอม เมื่อเวลาลุกไหม้จะให้ความร้อนสูง และมีเปลวที่สะอาด ปกติไม่มีสีไม่มีกลิ่น แต่เพื่อให้เป็นที่สังเกตง่ายเมื่อรั่ว
ผู้ผลิตจึงใส่กลิ่นเข้าไป ประโยชน์ ใช้เป็นแก๊สหุงต้ม เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์รวมทั้งเตาเผา เตาอบต่าง ๆ
9.2.น้ำมันเบนซิน (gasoline)
 เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์มาก โดยใช้จุดระเบิดที่หัวเทียน น้ำมันเบนซินประกอบด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
ชนิดหนึ่งมีจำนวน 8 อะตอมใน 1 โมเลกุล เรียกว่า ไอโซออกเทน น้ำมันเบนซินที่มีไอโซออกเทนบริสุทธิ์จะมีสมบัติในการทำงานกับเครื่องยนต์ดีมาก
เราเรียกว่ามีออกเทนนัมเบอร์เป็น 100 จะทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบ เบนซินชนิดนี้จะมีราคาแพง หากน้ำมันเบนซินที่มีไฮโดรคาร์บอนน้อยกว่า 8 อะตอมใน
1 โมเลกุล มีค่าออกเทนนัมเบอร์ต่ำ จะทำให้มีราคาถูก เพราะการเผาไหม้เชื้อเพลิงไม่ดี จึงมีการเติมสารบางชนิดลงไปในเบนซินคุณภาพต่ำเพื่อให้มีคุณภาพดี
ใกล้เคียงกับเบนซินที่มีออกเทนนัมเบอร์สูง สารที่นิยมเติมกันมากคือ เตตระเอธิลเลต ซึ่งประกอบด้วยตะกั่วจะมีผลต่อมลภาวะอากาศ หากใช้สารเมทิลเทอร์-
เธียรีมิวทิลอีเธน หรือเอ็มทีบีอีเติมแทน จะไม่ทำให้เกิดมลภาวะ และจะทำให้เบนซินมีคุณภาพดีขึ้นเช่นกัน
9.3.น้ำมันก๊าด (kerosene)
 เป็นผลิตภัณฑ์หลักของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในระยะแรก ๆ เดิมน้ำมันก๊าดใช้จุดตะเกียงเท่านั้น แต่ปัจจุบัน น้ำมันก๊าดใช้
ประโยชน์อย่างอื่นได้หลายประการ เช่น ใช้เป็นส่วนผสมสำหรับยาฆ่าแมลง สีทา น้ำมันขัดเงา และเป็นส่วนผสมของน้ำยาทำความสะอาดในด้านการเกษตร
ให้กำลังรถแทรกเตอร์ และใช้เป็นเชื้อเพลิงเผาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา
9.4.น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล (Diesel) 
ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีมูลฐานการทำงานแตกต่างจากเครื่องยนต์เบนซิน เพราะต้องการความร้อนที่เกิดจากการอัดอากาศ
อย่างสูงในลูกสูบ เชื้อเพลิงดีเซลใช้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รถบรรทุก รถโดยสาร รถแทรกเตอร์ หัวจักรรถไฟ และเรือประมง
9.5.น้ำมันเตา (fuel oils)
 เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาหม้อน้ำและเตาเผา หรือเตาหลอมในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ เครื่องยนต์เรือ
เดินสมุทร น้ำมันเตามี 3 ชนิด คือ


1. น้ำมันเตาอย่างเบามีความหนืดต่ำใช้กับหม้อน้ำขนาดเล็ก
2. น้ำมันเตาอย่างกลางมีความหนืดปานกลางใช้กับหม้อน้ำขนาดกลาง
3. น้ำมันเตาอย่างหนักมีความหนืดสูงใช้กับเตาเผาในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์






การสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน

การสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน (Seismic Exploration)

      การสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน เป็นการสำรวจเพื่อตรวจสอบลักษณะและโครงสร้างทางธรณีวิทยาใต้ผิวดิน โดยการทำให้เกิดสัญญาณคลื่น แล้ววัดระยะเวลาที่คลื่นเดินทางจากจุดกำเนิด ถึงตัวรับคลื่น (Geophone หรือ Hydrophone) ความเร็วคลื่น จะแปรผันตรงกับความหนาแน่นของชั้นหิน และชนิดของหินนั้น ชั้นหินที่มีความหนาแน่นต่ำ มีความพรุน และมีของเหลวแทรกอยู่ คลื่นเสียงจะเดินทางผ่านได้ช้ากว่า ( ใช้เวลามากกว่า) การเดินทางในชั้นหินที่มีเนื้อแน่นนอกจากนี้รอยเลื่อน และการโค้งงอของชั้นหิน ทำให้เกิดการหักเหของคลื่น แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างธรณีวิทยาของชั้นหินอีกด้วย

การสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน เป็นวิธีที่ใช้ในการสำรวจหาปิโตรเลียม มีความถูกต้องสูง ให้รายละเอียดของลักษณะทางธรณีวิทยาได้ดี สำรวจได้ลึกจากผิวดินหลายกิโลเมตร และเสียค่าใช้จ่ายสูง

แหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทย


แหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทย 
6.1 แหล่งปิโตรเลียมบนบก 

6.1.1 แหล่งปิโตรเลียมบนบกอยู่ในบริเวณภาคเหนือและภาคกลาง

 ประกอบด้วย 1.แหล่งฝาง บริเวณอําเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ํามันดิบ ประมาณ 1,000 บาร์เรลต่อวัน 2.แหล่งสิริกิติ์ทับแรต หนองมะขาม หนองตูม วัดแตน เสาเถียร ประดู่เฒ่า ปรือ กระเทียม หนองแสง ทุ่งยางเมือง บึงหญ้า บึงม่วง บึงหญ้าตะวันตก บึงม่วงใต้หนองสระ อรุโณทัย และ บูรพา อยู่ในพื้นที่อําเภอลานกระบือ จังหวัดกําแพงเพชร อําเภอคีรีมาศ อําเภอกง ไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย และอําเภอบางระกํา จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ํามันดิบ ประมาณ 30,000 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติที่ผลิตขึ้นมากับน้ํามันดิบ ประมาณ 25 ล้าน ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน 3.แหล่งวิเชียรบุรีศรีเทพ นาสนุ่น นาสนุ่นตะวันออก บ่อรังเหนือ วิเชียรบุรีส่วนขยาย และ L33 อยู่ในพื้นที่อําเภอวีเชียรบุรีและ อําเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ปัจจุบันมีอัตราการ ผลิตน้ํามันดิบประมาณ 2,200 บาร์เรลต่อวัน 4.แหล่งอู่ทอง สังฆจาย บึงกระเทียม และ หนองผักชีอยู่ในพื้นที่อําเภอเมือง และ อําเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ํามันดิบประมาณ 350 บาร์เรลต่อวัน 5.แอ่งกําแพงแสน อยู่ในพื้นที่อําเภอกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม ปัจจุบันมีอัตราการ ผลิตน้ํามันดิบประมาณ 500 บาร์เรลต่อวัน

6.1.2. แหล่งปิโตรเลียมบนบกอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

ปัจจุบัน มีแหล่งก๊าซธรรมชาติ 2 แหล่ง คือ 6.แหล่งก๊าซน้ําพอง บริเวณอําเภอน้ําพอง จังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันมีอัตราการผลิต ก๊าซธรรมชาติประมาณ 15 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน 7.แหล่งก๊าซสินภูฮ่อม บริเวณอําเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานีปัจจุบันมีอัตราการ ผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเหลวประมาณ 450 บาร์เรลต่อวัน

6.2. แหล่งปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย
แหล่งจัสมินและบานเย็น ผลิตน้ํามันดิบประมาณ 12,000 บาร์เรลต่อวัน แหล่งบัวหลวง ผลิตน้ํามันดิบประมาณ 7,400 บาร์เรลต่อวัน แหล่งนางนวล (หยุดผลิตชั่วคราว) แหล่งสงขลา ผลิตน้ํามันดิบประมาณ 17,500 บาร์เรลต่อวัน แหล่งเอราวัณ บรรพต สตูล ปลาทอง และแหล่งไพลิน ผลิตก๊าซรวมกันประมาณ 1,640 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ก๊าซธรรมชาติเหลวประมาณ 53,800 บาร์เรลต่อวัน และน้ํามันดิบประมาณ 30,000 บาร์เรลต่อวัน แหล่งทานตะวัน เบญจมาศ ผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 130 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และน้ํามันดิบ ประมาณ 25,000 บาร์เรลต่อวัน แหล่งบงกช ผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 650 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเหลว ประมาณ 21,000 บาร์เรลต่อวัน แหล่งอาทิตย์ ผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเหลว ประมาณ 11,500 บาร์เรลต่อวัน ในเขตพื้นที่ทับซ้อนกับประเทศมาเลเซีย ได้จัดตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (Malaysia – Thailand Joint Authority : MTJA) เพื่อแสวงประโยชน์ในแหล่งปิโตรเลียมร่วมกัน และเริ่มผลิต ปิโตรเลียมตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 ส่งก๊าซธรรมชาติและก๊าซ ธรรมชาติเหลวเข้าประเทศไทยวันละประมาณ 760 ล้านลูกบาศก์ฟุต 

.การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม

การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม

การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม ทำได้หลายวิธี ดังนี้

1. ทางธรณีวิทยา 
 จากแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ ภายถ่ายดาวเทียม รายงานทางธรณีวิทยา

2. ทางธรณีฟิสิกส์

การหาความเข้มของสนามแม่เหล็ก แรงโน้มถ่วงของโลก การเคลื่อนไหวสั่นสะเทือนของโลก 
และ การเจาะสำรวจ

ระบบปิโตรเลียม

ระบบปิโตรเลียม
ระบบปิโตรเลียมที่สมบูรณ์จะต้องมี 3 องค์ประกอบ และ 5 ขบวนการที่ครบถ้วน
  • องค์ประกอบ 3 ประการ
  • 5 กระบวนการในการเปิดปิโตรเลียม