วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การกำเนิดปิโตรเลียม

การกำเนิดปิโตรเลียม


 ปิโตรเลียมมีต้นกำเนิดมาจากสารประกอบอินทรีย์ทั้งของพืชและสัตว์ขนาดเล็ก ๆ หรือแพลงตอน ที่ตายและทับถมปะปนกับตะกอน ชนิดต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งตะกอนที่มีอนุภาคขนาดเล็กพวกแร่ดินเหนียวหรือตะกอนจำพวกคาร์บอเนตซึ่งตกตะกอนสะสมตัวอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีพลังงานต่ำ และขาดแคลนออกซิเจนตามบริเวณแอ่งบนพื้นผิวโลกทั้งบนบกที่เคยเป็นทะเลสาบมาก่อนและในทะเลโดยมีตะกอนทับถมอยู่ด้านบนจนเวลาผ่านไปหลายล้านปี ตะกอนเหล่านี้ก็จะกลายเป็นชั้นหินตะกอน เช่นหินโคลน หินดินดาน ส่วนสารอินทรีย์ซึ่งมีสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นส่วนมาก ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างช้าๆ ภายใต้อิทธิพลของความร้อนจากภายในโลกและความกดดันที่เพิ่มขึ้นจากตะกอนที่ทับถมตัวอยู่เบื้องบนจนในท้ายที่สุดจะแปรสภาพเป็นก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบสะสมตัวอยู่ที่ความลึกประมาณ 2.5 กิโลเมตรและซึมผ่านในชั้นหินที่มีรูพรุน เช่น ชั้นหินทรายและชั้นหินปูนช่องว่างและรอยแตกในหินข้างเคียงไปอยู่ในแหล่งกักเก็บใต้ผิวโลก


          ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สารอินทรีย์แปรสภาพไปเป็นปิโตรเลียม คือ อุณหภูมิซึ่งอุณหภูมิต่ำสุดที่มีความจำเป็นในการเกิดปิโตรเลียมของแอ่งตะกอนทั่วๆ ไปก็คือ ระดับ 50 องศาเซลเซียสแต่ที่ระดับอุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียส จะเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดอุณหภูมิดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อตะกอนซึ่งมีสารอินทรีย์ปะปนอยู่ในปริมาณมากเพียงพอ ถูกทับถมจมลงใต้ผิวโลก ถ้าเป็นบริเวณแอ่งที่มีตะกอนสะสมตัวทับถมกันหนาและจมตัวลึกลงไปมากอุณหภูมิใต้ผิวโลกบริเวณนั้นก็จะสูงมากขึ้นที่ระดับความลึกไม่มากนั้นอุณหภูมิจะไม่สูงพอที่จะทำให้เกิดน้ำมันดิบสารอินทรีย์จากพืชและสัตว์บางส่วนจะสลายตัวโดยการทำงานของแบคทีเรียทำให้เกิดแก๊สชีวภาพซึ่งส่วนใหญ่เป็นแก๊สมีเทน การเกิดแก๊สชีวภาพจะลดปริมาณน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อตะกอนทับถมตัวจมลึกลงไปจากระดับผิวดินมากขึ้นตามลำดับ

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น